วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประเภทของขลุ่ยเพียงออ

ประเภทของขลุ่ยไทย

เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น
เครื่องดนตรีประเภทนี้เรียกโดยรวมว่า “ขลุ่ย” ลักษณะของขลุ่ย เลาขลุ่ย นิยมทำด้วยไม้ไผ่ แต่ก็อาจใช้วัสดุชนิดอื่นมาทำได้ เช่น ไม้เนื้อแข็งและท่อพลาสติก บนเลาขลุ่ยจะประกอบด้วย
รูทั้งหมด 13 รูด้วยกัน รูที่ทำให้เกิดความแตกต่างของเสียงมีด้วยกัน 9 รู ประกอบด้วยด้านบนหรือด้านหน้า จำนวน 7 รู ด้านหลังหรือด้านล่างมี 1 รู เรียกว่า “รูค้ำ” และด้านข้างอีก 1 รู เรียกว่า “รูเยื้อ” โดยทั่วไปรูเยื้อจะใช้หัวหอมหรือกระดาษบาง ๆ เช่น กระดาษสาปิดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเสียงสั่นพลิ้ว อันเป็นคุณลักษณะของเสียงขลุ่ยที่สำคัญยิ่ง (เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี, 2542)
ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่า ขลุ่ยที่นิยมเล่นในปัจจุบันนอกจาก
จะบรรเลงเดี่ยวแล้ว ยังนำไปเล่นร่วมกับวงเครื่องสายไทยและวงมโหรี มีอยู่ 3 ชนิดคือ ขลุ่ยหลิบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ (เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี, 2542) ขลุ่ยแต่ละชนิดมีระดับเสียงและขนาด
ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. ขลุ่ยหลิบ ขลุ่ยหลีบหรือขลุ่ยหลีก เป็นขลุ่ยขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ
35 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ทำขึ้นภายหลัง เพื่อให้คู่กับขลุ่ยเพียงออ
โดยมีเสียงเล็กแหลมสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 เสียง และมีลีลาการบรรเลงที่โหยหวน ถี่กระชับ
นิยมใช้บรรเลงในวงเครื่องสายเครื่องคู่ เครื่องสายปี่ชวา มโหรีเครื่องคู่ ถ้าปิดรูทั้งหมดจะเป็นเสียง “ ฟา” ลำดับเสียงคือ ฟา ซอล ลา ที โด เร มี ฟา
2. ขลุ่ยเพียงออ เป็นขลุ่ยขนาดกลาง มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ซึ่งกำหนดให้มีทางเสียงประจำตัวว่า “เสียงเพียงออ” ใช้บรรเลงทั่วไปในวงเครื่องสาย มโหรี ปี่พาทย์ไม้นวม ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ทั้งยังเป็นหลักในการเทียบเสียง
เครื่องดนตรีในวงด้วย เมื่อปิดนิ้วทุกนิ้วจะได้เสียงเทียบเท่ากับเสียงโด ถ้าปิดรูทั้งหมดจะเป็นเสียง “ โด ” ลำดับเสียงคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด
3. ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ที่สุดของขลุ่ยไทย มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร
ความกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีระดับเสียงทุ้มต่ำนุ่มนวล มีลีลาการบรรเลงที่เรียบง่าย
ใช้เสียงยาวเป็นหลัก โดยมีระดับเสียงต่ำสุดต่ำกว่าระดับของขลุ่ยเพียงออลงไป 2 เสียง
ขลุ่ยอู้ใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ถ้าปิดรูทั้งหมดจะเป็นเสียง “ ซอล” ลำดับเสียงคือ ซอล ลา
ที โด เร มี ฟา ซอล (กาญจนา อินทรสุนานนท์, ม.ป.ป.; พิชัย ปรัชญานุสรณ์, 2545; สมโชค
สงชู, 2545; อัษฎาวุธ สาคริก, 2550)

เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ได้กล่าวแล้วตั้งแต่ต้น ล้วนมีลีลาของการบรรเลง
ที่คล้ายคลึงกัน คือ เก็บบ้าง โหยหวนบ้าง เครื่องเป่าไทยทุกชนิดมีลีลาการผลิตเสียงที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น คือ “ การระบายลม” การระบายลมเป็นเทคนิคการผ่อนและเป่าลม
ให้หมุนเวียนไปมา สามารถสร้างเสียงได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนคล้ายกับ
ผู้เป่ามิได้หยุดหายใจ (เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี, 2542)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น